2. งานสร้างเขื่อนแก่งกระจาน
งานหลักของเขื่อนแก่งกระจาน
แบ่งออกไปเป็น 5 งาน คือ
1.
เขื่อนใหญ่กั้นแม่น้ำ
2.
เขื่อนปิดช่องเขาขาดแห่งที่ 1
3.
เขื่อนปิดช่องเขาขาดแห่งที่ 2
4.
ท่อส่งน้ำจากเขื่อนใหญ่
5.
ทางระบายน้ำล้น
งานก่อสร้างได้เริ่มตามลำดับมาดังนี้
2.1.
ท่อส่งน้ำจากเขื่อนใหญ่ ( Outlet Works )
ท่อส่งน้ำจากเขื่อนใหญ่เป็นท่อคอนกรีตเสริมเหล็ก
ฝังขวางใต้เขื่อนใหญ่ ตัวท่อทางด้านเหนือน้ำเป็นรูปกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 3.50 เมตร
ทางด้านท้ายน้ำเป็นรูปเกือกม้าสูง 5.25
เมตร ความยาวท่อ 202
เมตร มีหอรับน้ำทางด้านเหนือน้ำ (Intake Tower)
มีห้องติดบานระบาย (Gate Chamber ) อยู่ตอนกลางท่อในแนวสันเขื่อน
บานระบายในตัวท่อซึ่งมี 2 ช่อง ๆ ละ 2 ชุด เป็นบานระบายขนาดใหญ่
ซึ่งรับแรงดันได้สูง (High Pressure Gate) ขนาด 1.80 x 2.60 เมตร ช่องละ 1 บาน
และบานระบายเล็กทำหน้าที่ควบคุมการส่งน้ำ ( Regulating Gate
) ขนาด
1.60 x 1.75 เมตร
อีกช่องละ 1 บาน ทางด้านท้ายน้ำมีหอบังคับการ (Control House) สำหรับปิดเปิดบานระบาย
ได้เริ่มเปิดหน้าดินและระเบิดหินร่องสำหรับสร้างตัวท่อเมื่อเดือนเมษายน 2505
แล้วทำการอัดแดน้ำปูนเพื่อป้องกันการรั่วซึมใต้ฐานราก จนถึงเดือนสิงหาคมปีเดียวกัน
จึงได้เริ่มเทคอนกรีตตัวท่อและเทคอนกรีตตัวหอรับน้ำทางด้านเหนือน้ำ
ห้องติดตั้งบานระบาย หอบังคับการด้านท้ายน้ำต่อเป็นลำดับมา
งานคอนกรีตของท่อส่งน้ำได้เสร็จในปลายปี 2056 เป็นคอนกรีตทั้งสิ้น 8,200 ลูกบาศก์เมตร
ส่วนการติดตั้งบานระบายภายในตัวท่อนั้น
ได้เริ่มในเดือนกันยายน 2507 และเสร็จในเดือนธันวาคม ปีเดียวกัน
ในระยะนี้ได้ผันน้ำจากตัวแม่น้ำเดิม
ให้ไหลผ่านทางท่อส่งน้ำนี้ตลอดมา โดยให้ผ่านช่องใต้คอห่านของหอรับน้ำ ( Diversion Openning
) จนถึงเดือนเมษายน
2508 จึงได้ทำการอุดช่องใต้คอห่านนี้
แล้วทำการเก็บน้ำในอ่างตั้งแต่เวลานั้นเป็นต้นมา
เป็นการเก็บกักน้ำก่อนกำหนดที่กะไว้เดิม 1 ปี
2.2
เขื่อนใหญ่ ( Main Dam
)
เขื่อนใหญ่กั้นแม่น้ำเป็นเขื่อนดิน
มีแกนเป็นดินเหนียว ตัวเขื่อนออกจากแกนแบ่งการถมเป็นเขต ( Zone
) ต่างๆ
โดยใช้ดินและหิน ตลอดจนกรวดทรายแตกต่างกันออกไปตามเขต
ขนาดและระดับของเขื่อนมีดังนี้
เขื่อนสูง 58 เมตร
ความยาวตามสันเขื่อน 760 เมตร
สันเขื่อนกว้าง 8 เมตร
ฐานตอนกว้างที่สุด 250 เมตร
ระดับสันเขื่อน + 106 เมตร
( ร.ท.ก. )
ระดับน้ำเก็บกัก + 99 เมตร (
ร.ท.ก. )
ระดับกั้นแม่น้ำเดิม + 55 เมตร (
ร.ท.ก. )
การสร้างเขื่อนได้ทำส่วนที่อยู่บนตลิ่งทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำก่อน
โดยได้เริ่มถางป่าและเปิดหน้าดินบริเวณฐานของเขื่อนตั้งแต่ต้นปี 2505
มาจนถึงเดือนตุลาคม ในปีนั้นจึงได้เริ่มเจาะร่องแกนดินเหนียวอัดฉีดน้ำปูนเพื่อป้องกันการรั่วซึมใต้ฐานรากและเริ่มถมดินตัวเขื่อน
การถมดินในระยะนี้ได้ใช้เครื่องจักรเครื่องมือที่ใช้งานมานานปี
ซึ่งกรมชลประทานมีอยู่ทำงานไปพลางก่อน จนถึงเดือนมกราคม 2507
จึงได้รับเครื่องจักรเครื่องมือที่ซ้อด้วยเงินกู้จากธนาคารโลกทยอยกันเข้ามา
การถมดินจึงทำได้อย่างรวดเร็วขึ้น
และในเดือนพฤศจิกายนปีนั้นได้ปิดทำนบชั่วคราวกั้นแม่น้ำเพชรบุรี
เพื่อทำงานฐานรากตัวเขื่อนทางฝั่งขวา
คือตอนที่อยู่ในแม่น้ำและได้ถมดินขึ้นมาจนเชื่อมติดต่อกับตัวเขื่อนทางฝั่งซ้าย
มาจนถึงเดือนเมษายน 2508
ได้ถมดินตัวเขื่อนถึงระดับ + 82
เมตร ( ร.ท.ก. ) หรือสูงจากฐานเขื่อนตอนที่ลึกที่สุดขึ้นมาได้ 34
เมตร จึงได้เริ่มทำการเก็บกักน้ำในอ่างดังได้กล่าวมาแล้วในงานสร้างท่อส่งน้ำ
การถมดินได้ทำต่อมาจนถึงระดับสันเขื่อนเป็นอันเสร็จเรียบร้อยในเดือนธันวาคม
2508 รวมระยะเวลาถมดินตัวเขื่อน 3 ปี กับ
3 เดือน เป็นปริมาตรดินและวัสดุต่างๆ ที่ใช้สร้างเขื่อน 3,425,000
ลูกบาศก์เมตร
2.3.
ทางระบายน้ำล้น (Spillway )
อยู่ทางฝั่งขวาของแม่น้ำ
ระหว่างตัวเขื่อนปิดช่องเขาขาดแห่งที่ 1 และแห่งที่ 2 สันทางระบายน้ำอยู่ที่ระดับ + 99 เมตร
( ร.ท.ก. ) มีความยาว 110
เมตร ทางระบายน้ำนี้
มีตอนที่ต้องตัดผ่านช่องเขายาวประมาณ 205
เมตร และมีส่วนที่ต้องตัดลึกที่สุด 43
เมตร
งานถางป่าบริเวณทางระบายน้ำได้เริ่มในเดือนกรกฎาคม
2505 และได้เริ่มระเบิดหินในเดือนกันยายน 2505
โดยระเบิดจากตอนบนลงมาหาระดับที่ต้องการ เป็นจำนวนหินที่ระเบิด 511,000
ลูกบาศก์เมตร หินจำนวนนี้ได้นำไปถมตัวเขื่อนในเขต ( Zone
) ที่กำหนดไว้
และถมลาดของตัวเขื่อนให้มั่นคงแข็งแรงไม่ทะลายเมื่อถูกกระแสน้ำและน้ำฝนกัดเซาะที่สันทางระบายน้ำได้เทคอนกรีตกว้าง 8
เมตร ตลอดความยาวของสันเขื่อนและลาดตลิ่งในแนวสันทางระบายน้ำ
ทั้งสองข้างเป็นคอนกรีต 420 ลูกบาศก์เมตร
นอกจากนี้ยังได้ถมคันดินฝั่งซ้ายของร่องระบายตอนท้ายน้ำมาจดตัวแม่น้ำเดิมอีก 180,000
ลูกบาศก์เมตร
ทางระบายน้ำล้นนี้ได้เสร็จเรียบร้อยในเดือนเมษายน 2509
2.4
เขื่อนปิดช่องเขาขาดแห่งที่ 1 ( Dike No. 1
)
อยู่ทางฝั่งขวาของแม่น้ำห่างจากเขื่อนใหญ่ออกไป
170 เมตร
เป็นเขื่อนดินแบบเดียวกับเขื่อนใหญ่
เขื่อนนี้สูง 36 เมตร
ความยาวตามสันเขื่อน 305 เมตร
สันเขื่อนกว้าง
8 เมตร
ฐานตอนที่กว้างที่สุด 160 เมตร
ระดับสันเขื่อนเท่ากับเขื่อนใหญ่
คือ +
106 เมตร ( ร.ท.ก. )
งานได้เริ่มในปี
2506
โดยเริ่มถางป่าและเปิดหน้าดินบริเวณฐานเขื่อนในเดือนมกราคม
เริ่มเจาะร่องแกนดินเหนียวในเดือนกรกฎาคม เริ่มอัดฉีดน้ำปูนฐานราก
และเริ่มถมดินในเดือนธันวาคมปีเดียวกันนั้น การถมดินได้ถมสลับกับเขื่อนใหญ่
แต่เนื่องจากต้องนำเครื่องจักรเครื่องมือไปเร่งงานเขื่อนใหญ่
การถมดินเขื่อนนี้จึงมาเสร็จในเดือนมกราคม 2509 หลังเขื่อนใหญ่ไป 1 เดือน
รวมระยะเวลาการถมดินตัวเขื่อน 2 ปี กับ 6 เดือน เป็นปริมาตรดินและวัสดุต่างๆ 704,000
ลูกบาศก์เมตร
2.5
เขื่อนปิดช่องเขาขาดแห่งที่ 2 (
Dike No. 2 )
อยู่ทางฝั่งขวาสุดของแม่น้ำ ห่างจากทางระบายน้ำออกไป 400 เมตร
เป็นเขื่อนดินแบบเดียวกับเขื่อนใหญ่ปิดช่องเขาขาดแห่งที่ 1
เขื่อนนี้สูง 24 เมตร
ความยาวตามสันเขื่อน 225 เมตร
สันเขื่อนกว้าง 8 เมตร
ฐานตอนที่กว้างที่สุด 100 เมตร
ระดับสันเขื่อนเท่ากับเขื่อนใหญ่
คือ + 103 เมตร ( ร.ท.ก. )
การที่กำหนดระดับสันเขื่อนไว้เพียงนี้
ก็เพื่อให้น้ำหลากที่มีมากกว่า 1,380
ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เพียงชั่วครั้งคราว ได้ไหลข้ามไปได้
เป็นการช่วยทางระบายน้ำล้นระบายน้ำอีกทางหนึ่ง มิฉะนั้น
สันทางระบายน้ำล้นจะต้องยาวมาก และความกว้างของช่องระบายน้ำล้นนั้น
ก็จะต้องกว้างมากขึ้น ทั้งนี้ เป็นการประหยัดราคางานลง
งานถางป่าและเปิดหน้าดินบริเวณฐานเขื่อน ได้เริ่มในต้นปี
2508 งานเจาะร่องแกนดินเหนียว เริ่มในเดือนกันยายน 2508 และได้เริ่มถมดินตัวเขื่อนในเดือนธันวาคม
ปีเดียวกัน การถมดินเขื่อนนี้ใช้เวลาเพียง
3 เดือนเท่านั้น
คือถมเสร็จในเดือนกุมภาพันธ์ 2509 เป็นปริมาตรดินและวัสดุต่างๆ 188,000
ลูกบาศก์เมตร
ที่มา: จากโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเพชรบุรี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น