4.
การอพยพราษฎรในบริเวณที่ถูกน้ำท่วม
การอพยพราษฎรออกจากบริเวณที่ถูกน้ำท่วม
ในอ่างเก็บน้ำของเขื่อนแก่งกระจาน ไม่มีปัญหามากนัก
เนื่องจากมีชาวกระเหรี่ยงอาศัยอยู่ตามริมแม่น้ำเพชรบุรี บริเวณตอนกลางของอ่างเพียง
4 หมู่บ้าน คือ บ้านวังวน ท่าลิงลม แก่งมะค่า
และแก่งกระจาน รวมทั้งหมด 32 ครอบครัว เป็นจำนวน 138 คนเท่านั้น
ชาวกระเหรี่ยงนี้มีภาษาพูดของตนเองแต่พูดภาษาไทยได้
มีความเป็นอยู่อย่างง่ายๆ รักสงบและรักสันโดษ
ปลูกข้าวและพืชล้มลุกเพียงพอเลี้ยงชีพไปปีหนึ่งๆ
นอกจากนี้ก็มีการหาของป่าและล่าสัตว์บ้าง ส่วนบริเวณอ่างทางเหนือน้ำมีชาวกระเหรี่ยงอาศัยอยู่ตามริมห้วยเพียงไม่กี่หลังคาเรือน
เนื่องจากราษฎรดังกล่าวมาแล้วไม่มีกรรมสิทธิ์ที่ดิน
กรมชลประทานจึงได้พิจารณาจ่ายค่ารื้อถอนบ้านเรือนและค่าต้นผลไม้ทุกครัวเรือนแต่อย่างเดียวโดยความเป็นธรรม
ต่อมาภายหลังปรากฏว่ามีคนไทยจากท้องที่ต่างๆ ในจังหวัดเพชรบุรี
พากันเข้าไปตั้งถิ่นฐานในบริเวณตัวอ่างเก็บน้ำเพิ่มขึ้น
กรมชลประทานจึงได้ร่วมกับทางราชการจังหวัดเพชรบุรี
จึงได้ประชุมราษฎรเหล่านี้แจ้งให้ทราบว่า พื้นที่บริเวณนี้อยู่ในเขตที่น้ำจะท่วม
จึงขอให้ผู้ที่อพยพมาใหม่กลับไปยังถิ่นฐานเดิมหรือแหล่งอื่นเสีย
ส่วนชาวกระเหรี่ยงซึ่งมาอยู่แต่เดิมนั้น ได้ให้อพยพไปอยู่ทางขอบอ่างทางทิศใต้
บริเวณห้วยเต่าคำและห้วยตากราย
ซึ่งมีความชุ่มชื้นเหมาะกับการเพาะปลูกพืชไร่และปลูกข้าวเล็กๆน้อยๆ
เหมาะกับอัธยาศัยของชาวกระเหรี่ยง ซึ่งมีความเป็นอยู่อย่างง่ายๆ จึงไม่เกิดความเดือดร้อนแต่ประการใด
นอกจากนี้ กรมชลประทานยังได้ทำถนนลำลองจากเขื่อนแก่งกระจานไปตามขอบอ่าง
จนถึงหมู่บ้านใหม่ของชาวกระเหรี่ยง เพื่อให้มีโอกาสออกมาภายนอกได้โดยสะดวกอีกด้วย
สำหรับชาวกระหร่าง ซึ่งมีอยู่ไม่กี่หลังคาเรือนนั้น
ไม่ชอบสังคมกับบุคคลภายนอก เมื่อกรมชลประทานเริ่มเก็บน้ำในอ่าง
ชาวกระหร่างซึ่งอยู่บริเวณอ่างทางเหนือน้ำนั้นจึงอพยพเข้าไปอยู่ทางต้นน้ำใกล้ชายแดนไทย
– พม่า
ไม่ต้องจัดที่ทำมาหากินให้ เช่นชาวกระเหรี่ยง
ที่มา: จากโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเพชรบุรี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น