3. งานถางป่าบริเวณอ่างเก็บน้ำ
การสร้างเขื่อนเก็บน้ำ
จะทำให้พื้นที่ตอนเหนือเขื่อนเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ดังนั้น
การถางป่าในบริเวณที่ถูกน้ำท่วม จึงเป็นปัญหาที่สำคัญประการหนึ่ง กล่าวคือ
ก่อนที่จะเก็บน้ำจะต้องทำการถางป่า และนำเอาไม้ออกจากบริเวณอ่างให้หมดสิ้นเสียก่อน
มิฉะนั้นแล้วการเน่าของกิ่งไม้ใบไม้ ฯลฯ จะทำให้น้ำในอ่างเสีย
เป็นอันตรายแก่การเพาะปลูกตลอดจนการอุปโภคบริโภค นอกจากนี้อาจมีต้นไม้ กิ่งไม้
หลุดลอยมาขางทางเดินของน้ำ หรือท่อสำหรับส่งน้ำ
ทำให้เกิดการเสียหายแก่อาคารชลประทานได้
การถางป่าในบริเวณอ่างเก็บน้ำ
ซึ่งมีพื้นที่ 50 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 31,000 ไร่นี้ กรมชลประทานได้ทำความตกลงกับกรมป่าไม้
ซึ่งองค์การฯ ได้ทำสัญญาจ้างผู้รับเหมาทำการตัดโค่นถางป่า ทั้งนี้ องค์การฯ
เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งหมด โดยได้ไม้ที่ทำการตัดโค่นเป็นขององค์การฯ
เพื่อนำมาเป็นสินค้าขายในท้องตลาดต่อไป การทำสัญญาถางป่ากระทำเมื่อเดือนกุมภาพันธ์
2506 แต่ปรากฏว่าผู้รับเหมาทำงานได้ล่าช้า อาจไม่เสร็จทันความต้องการของกรมชลประทาน
องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้จึงได้เปลี่ยนผู้รับเหมาใหม่ เมื่อเดือนธันวาคม 2506
ซึ่งผู้รับเหมารายใหม่นี้ได้เร่งดำเนินงานจนเสร็จทันตามความต้องการ
ที่มา: จากโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเพชรบุรี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น